ความเป็นมาของโครงการ
พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาประสบปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งเป็นประจำ และปัจจุบันมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่เกษตรกรรม แหล่งชุมชนที่อยู่อาศัย แหล่งอุตสาหกรรมแหล่งพาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว ส่งผลกระทบต่อรายได้และความเสียหายทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก จากปัญหาดังกล่าว จะเห็นได้ว่าการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อให้เกิดการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ สมดุล เป็นธรรม และยั่งยืนนั้น นอกจากการมองภาพรวมในระดับลุ่มน้ำหลักของประเทศแล้ว ความรู้ความเข้าใจสภาพของแต่ละพื้นที่ในระดับลุ่มน้ำย่อยก็มีความสำคัญอย่างมาก ดังนั้น การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ได้ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในระดับลุ่มน้ำ เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการใช้น้ำในทุกกิจกรรม แม้ว่าจะมีมาตรการและโครงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในกลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่จำนวนมากเกิดขึ้น แต่ทว่าการดำเนินการดังกล่าวยังขาดการติดตามและประเมินผลอย่างชัดเจน
ในการนี้ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการศึกษาเพื่อจัดทำแผนหลักการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ เพื่อให้การพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด โดยการบูรณาการหาแนวทางแก้ไขอย่างยั่งยืนสอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติโดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการน้ำเชิงพื้นที่ (กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่) พร้อมทั้งเร่งรัดการดำเนินการได้ทันทีในโครงการที่มีความพร้อมต่อไป

วัตถุประสงค์ของการศึกษา
ศึกษาและจัดทำรายงาน
แผนหลักการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการในพื้นที่กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่
ศึกษาและจัดทำรายงาน
การบริหารจัดการน้ำ โดยกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจัดสรรน้ำทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤติการจัดลำดับความสำคัญของการใช้น้ำ สำหรับกิจกรรมประเภทต่างๆ รวมทั้งแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้ง น้ำท่วม และคุณภาพน้ำ
ศึกษาและจัดทำ
แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ทั้งด้านสมดุลน้ำ ด้านชลศาสตร์และคุณภาพน้ำ รวมทั้งพัฒนาระบบฐานข้อมูลรองรับระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่
ศึกษาและจัดทำทะเบียน
แหล่งน้ำและทางน้ำรวมทั้งจัดทำผังน้ำ
ดำเนินงานประชาสัมพันธ์
และการมีส่วนร่วมของประชาชนให้สอดคล้องกับกฏหมายและระเบียบที่กำหนด
พื้นที่ศึกษาและขอบเขตของโครงการ
ครอบคลุมพื้นที่กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ ประกอบด้วย

ลุ่มน้ำสาละวิน
ลุ่มน้ำโขงเหนือ
ลุ่มน้ำปิง
ลุ่มน้ำวัง
ลุ่มน้ำยม
ลุ่มน้ำน่าน
ลุ่มน้ำเจ้าพระยา
ลุ่มน้ำสะแกกรัง
ลุ่มน้ำป่าสัก
ลุ่มน้ำท่าจีน
รวมถึงพื้นที่เกี่ยวเนื่องที่มีความเชื่อมโยงกัน ได้แก่ ลุ่มน้ำแม่กลอง ลุ่มน้ำบางปะกง และลุ่มน้ำมูล คิดเป็นพื้นที่ 195,026.44 ตารางกิโลเมตร
กรอบแนวความคิด
ในการจัดทำแผนหลักการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำกลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่

ความเคลื่อนไหวของโครงการ
ประกาศ/ข่าวประชาสัมพันธ์/ข่าวโครงการ/เอกสารเผยแพร่
-
สทนช. เผยผลการจัดทำแผนหลักบริหาร จัดการทรัพยากรน้ำกลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่
-
เชียงใหม่- สทนช. เผยผลการจัดทำแผนหลักบริหารจัดการทรัพยากรน้ำกลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่หวังแก้ไขปัญหาน้ำในทุกมิติอย่างเป็นระบบและยั่งยืน (ชมคลิป)
-
เชียงใหม่- สทนช. เผยผลการจัดทำแผนหลักบริหารจัดการทรัพยากรน้ำกลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่หวังแก้ไขปัญหาน้ำในทุกมิติอย่างเป็นระบบและยั่งยืน (ชมคลิป)
-
สทนช. เผยผลการจัดทำแผนหลักบริหารจัดการทรัพยากรน้ำกล่ม ลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ หวังแก้ไขปัญหาน้ำในทุกมิติอย่างเป็นระบบและยั่งยืน
-
ข่าวสทนช.ตรวจน้ำเค็มรุกเจ้าพระยาพร้อมดันแผนหลักแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน รายการคนไทยหัวใจเกษตร ออกอากาศช่อง9 – MCOTวันที่ 26 ก.พ 63
-
สทนช. เผยผลการจัดทำแผนหลักบริหารจัดการทรัพยากรน้ำกลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ หวังแก้ไขปัญหาน้ำในทุกมิติอย่างเป็นระบบและยั่งยืน
-
สทนช. เผยผลการจัดทำแผนหลักบริหารจัดการทรัพยากรน้ำกลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ หวังแก้ไขปัญหาน้ำในทุกมิติอย่างเป็นระบบและยั่งยืน
-
สทนช. เผยผลการจัดทำแผนหลักบริหารจัดการทรัพยากรน้ำกลุ่ม ลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ หวังแก้ไขปัญหาน้ำในทุกมิติอย่างเป็นระบบและยั่งยืน
-
20ก.พ.63สทนช.และหน่วยงานด้านน้ำลงเรือสำรวจระวังน้ำเค็มรุกกระทบประปา
-
NEWSLINE : Government Nulls Strategies to Combat Drought
สื่อประชาสัมพันธ์โครงการ
-
จดหมายข่าวฉบับที่ 1 แผนแม่บท 3 ด้าน โครงการศึกษาเพื่อจัดทำแผนหลักการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ กลุ่มลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาใหญ่
-
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 2
-
การส่งน้ำและบำรุงรักษา โดยเกษตรกรมีส่วนร่วม ตามกระบวนการ 14 ขั้นตอน
-
รายงานสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำยม ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2562 เวลา 07.00 น.
-
รายงานสถานการณ์น้ำจังหวัดแพร่ ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2562 เวลา 07.00 น.
-
Rollup กระบวนการจัดทำแผนหลักและแผนปฏิบัติการ
-
แผนงานและเอกสารประกอบการประชุม
-
วีดิทัศน์กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่
-
Roll Up แนะนำโครงการ
-
แผ่นพับแนะนำโครงการ